เซ็นทรัลผนึก 500 แบรนด์แฟชั่นไทย-เทศ ผุด “ซิตี้เอาต์เลต” ชูจุดขายลดตลอดปี

นาย เลิศวิทย์ ภูมิพิทักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือซีอาร์ซี กล่าวว่า บริษัทได้ลงทุน 100 ล้านบาท ปรับพื้นที่รีเทล 2.2 หมื่น ตร.ม.ของศูนย์การค้าจิวเวลรี่ เทรดเซ็นเตอร์ใหม่ทั้งหมด ด้วยการเพิ่มแม็กเนตใหม่ ๆ เข้าไปเสริมเพื่อดึงทราฟฟิกและเพิ่มรายได้ หลังจากที่ผ่านมากว่า 15 ปี ศูนย์การค้าแห่งนี้เป็นที่รู้จักทั้งคนไทยและต่างชาติในฐานะที่เป็นศูนย์ กลางการค้าอัญมนีเป็นหลัก

อย่าง ไรก็ดีด้วยทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพซึ่งแวดล้อมไปด้วยสำนักงานออฟฟิศและที่ พักอาศัยคอนโดมิเนียมของกลุ่มลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติ จึงตัดสินใจปรับโฉมศูนย์การค้าใหม่และได้ปรับพื้นที่ใหม่ ด้วยการเปิดเป็นแฟชั่นเอาต์เลตใจกลางเมืองแห่งแรกในเมืองไทย โดยได้ดึงซัพพลายเออร์นำแบรนด์แฟชั่นกว่า 500 แบรนด์ เข้ามาเปิดภายใต้คอนเซ็ปต์ “บางกอก แฟชั่น เอาต์เลต” มาลดราคา 30-90 % ตลอดทั้งปี

พร้อม กันนี้ได้เตรียมจัดเซลโปรโมชั่นหมุนเวียนดีไซเนอร์แบรนด์ต่าง ๆ มาจัดอีเวนต์ลดราคาภายในศูนย์หมุนเวียนกันต่อเนื่องเพื่อสร้างสีสัน โดยตั้งเป้ากลุ่มลูกค้าชาวไทย 60% และต่างชาติ 40% ด้วยชูจุดเด่นของทำเลที่ตั้งและการมีแม็กเนตแฟชั่นเอาต์เลตใจกลางสีลมที่ เดินทางสะดวก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยทำให้เอาต์เลตแห่งนี้ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นมีแผนที่จะขยายบางกอก แฟชั่น เอาต์เลตไปยังทำเลต่าง ๆ ที่มีศักยภาพและตอบโจทย์ตลาด ซึ่งสำหรับการลงทุนเอาต์เลตในอนาคตคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 200-300 ล้านบาท สำหรับพื้นที่ประมาณ 10,000 ตร.ม.

“นัก ท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่มาที่กรุงเทพฯกันเยอะ แต่ยังไม่มีเอาต์เลตรองรับการช็อปปิ้ง และยังไม่มีใครทำอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งบางกอก แฟชั่น เอาต์เลต ถือเป็นเอาต์เลตแห่งแรกของเซ็นทรัล รีเทล สำหรับการต่อยอดธุรกิจก็ต้องดูกระแสตอบรับจากลูกค้า เราอาจจะขยายสาขาไปในใจกลางเมืองต่างจังหวัด เพราะคิดว่าในแต่ละทำเลซิตี้เอาต์เลตควรจะมี 1-2 แห่งก็เพียงพอแล้ว”

ทั้ง นี้หลังการปรับโฉมศูนย์การค้าจิวเวลรี่ เทรดเซ็นเตอร์ ไม่เพียงการปรับพื้นที่ 2.2 หมื่น ตร.ม.ใหม่ แบ่งเป็นพื้นที่ 45% สำหรับแฟชั่นเอาต์เลต 45% เป็นสินค้าจิวเวลรี่ และอีก 10% เป็นพื้นที่ของอาร์ตแกลเลอรี่ ซึ่งบางส่วนของอาร์ตแกลเลอรี่จะต้องย้ายไปเปิดที่บ้านสีลม นอกจากนี้ได้ปรับโลโก้และเปลี่ยนชื่อจากจิวเวลรี่ เทรดเซ็นเตอร์ เป็น “จี ที ซี” เพื่อเป็นการสร้างแบรนด์ใหม่และสร้างการรับรู้ใหม่สำหรับรองรับการเป็น จิวเวลรี่ช็อปปิ้งแอนด์อาร์ตเซ็นเตอร์ และคาดว่าการเปิดตัวของโซนแฟชั่นและปรับพื้นที่ใหม่นี้จะสามารถเพิ่มทราฟฟิก ลูกค้าจาก 5,000 คนต่อวัน เป็น 30,000 คนต่อวัน

ซึ่ง ในส่วนของโซนจิวเวลรี่มีร้านค้าอยู่ 300 ร้าน และเตรียมขยายเฟส 2 เพิ่มเติมอีก 300 ร้าน โดยจะพัฒนาในพื้นที่ของศูนย์การค้าในอนาคตที่ยังมีที่ดินเหลืออีก 3 ไร่ เช่นเดียวกับมีแผนขยายตลาดสู่อาเซียน 10 ประเทศ โดยมองว่าประเทศพม่า จีน และอินโดนีเซีย เป็นประเทศในกลุ่มที่มีโอกาส รวมถึงประเทศนอกอาเซียนอย่าง จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ภายใต้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปีจากนี้

ที่มาของบทความ

(692)

Comments are closed.