วาระประเทศไทย :”R&D” เพิ่มขีดแข่งขันธุรกิจไทยยุคหน้า

(science, technology and innovation: STI) ที่อยู่ระหว่างการจัดทำโครงร่างนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ  (STI) ภายใต้กรอบระยะเวลาดำเนินการสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2563  (ค.ศ.2020) โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการเปลี่ยนผ่านภาคธุรกิจไทย จาก ผู้รับจ้างผลิต สู่ นวัตกรรม ที่มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มจากงานวิจัยและพัฒนา (Research&Development)

“ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม” ประเด็นเสวนาที่นำไปสู่การเคลื่อน “วาระประเทศไทย” ในอนาคต ในวาระครบรอบ 40 ปี เนชั่นกรุ๊ป กับการระดมความคิด ความเห็น จากบุคคลสำคัญในแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย

แม้ภาครัฐจะเริ่มขับเคลื่อนอนาคตเศรษฐกิจไทยด้วยแผนแม่บท STI ไปบ้างแล้วแต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอในมุมมองของภาคเอกชน เพราะหากต้องการจะ “ต่อสู่” และ “ยืดหยัด” อย่างยั่งยืนในเวทีการค้าโลก ยังต้องอาศัยหลายองค์ประกอบที่มากกว่าแผนแม่บท STI

การให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา เพิ่มขึ้นเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ Gross Domestic Product (GDP) ในอีก 3 ปีข้างหน้า จากที่อยู่ในระดับเพียง 0.2 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในขณะนี้

รวมถึงการทำข้อตกลงร่วมของภาคเอกชน 5 ประการที่เตรียมนำเสนอรัฐบาลให้เร่งออกนโยบายสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความ สามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วย 1. สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน  2.  การตระหนักและปรับเปลี่ยนความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม 3. การให้งบประมาณทุนสนับสนุนแก่การวิจัยและพัฒนา  4. การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และ 5. การนำนโยบายเกี่ยวกับ R&D ไปปฏิบัติ

ที่กล่าวมาเป็นเพียงแนวคิดจากภาครัฐ และเอกชนที่ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย ให้ก้าวทันกับการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นในอนาคต แม้บางส่วนจะเริ่มดำเนินการไปแล้วอย่างแผนแม่บท STI แต่ในส่วนของเอกชนหลายบริษัทออกสตาร์ทไปก่อนภาครัฐแล้วหลายช่วงตัว

STI ภาคเอกชน
เครือซิเมนต์ไทย (Siam Cement Group: SCG) ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มากที่สุดในประเทศไทยจากหลายรางวัลบริษัทนวัตกรรมดีเด่นที่เอสซีจีได้รับจาก หลายเวที

แนวคิด กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือซิเมนต์ไทย หรือ เอสซีจี ที่มองว่าประเทศไทยต้องไม่เป็นเพียงฐานผลิตเท่านั้น แต่ต้องเพิ่มขีดความสามารถไปให้ถึง “ต้นน้ำ”

ในที่นี้ หมายถึง การที่มีองค์ความรู้ในการคิดประดิษฐ์สินค้าได้ด้วยตัวเอง  ไม่เพียงแค่มือปืนรับจ้าง หรือซื้อลิขสิทธิ์ที่เป็นความรู้ของคนอื่นมาผลิตเท่านั้น

เช่นเดียวกับเอสซีจีที่พยายามก้าวข้ามจากเดิมที่เป็นเพียงโรงงานผลิตปูน ซิเมนต์มาเป็นเวลาถึง 90 ปี และอยู่ในฐานะไลเซนส์ซี่มาโดยตลอด พัฒนาจนเป็นบริษัทที่สามารถคิดค้นสินค้าใหมที่มีคุณภาพ และสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน

” Wealth Creation จะมาจากอาร์แอนด์ดี  ซึ่งก็คือต้นน้ำ เทคโนโลยีจะทำให้สินค้าเราแตกต่าง”

จากตัวเลขงบประมาณการอาร์แอนด์ดีเทียบกับจีดีพีของประเทศไทยทั้ง ประเทศ(รัฐบาล+เอกชน)ในวันนี้ยังอยู่ที่ 0.25  เปอร์เซนต์ หรือ  2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น  เทียบเทียบกับหลายๆ ประเทศแล้ว อาทิ  เกาหลีใต้ 3.47 เปอร์เซนต์  ญี่ปุ่น 3.44  เปอร์เซนต์  จีน 1.4  เปอร์เซนต์

สำหรับเอสซีจีแล้วการใส่เงินลงทุนให้กับอาร์แอนด์ดี มีแต่จะเพิ่มขึ้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กานต์ กล่าวว่า เครือซิเมนต์ไทยโดยปกติจะใช้เงินประมาณ 0.3 ถึง 0.4 เปอร์เซ็นต์ของรายรับรวมจะทุ่มเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา ปีนี้การใช้จ่ายเกี่ยวกับ R&D ของเครือจะสูงขึ้นถึงประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจาก 880 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2552 และ 730 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2551

ซึ่งก็ทำให้ปัจจุบัน 30 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรวมของเอสซีจีะมาจากสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม ขณะเดียวกันบริษัทก็ตั้งเป้าการเพิ่มตัวเลขขึ้นไปให้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรวมภายในปี พ.ศ. 2558

“เราต้องสร้างบรรยากาศของบริษัทให้เกี่ยวข้องและเอื้อต่อการสร้างนวัต กรรม เพราะตระหนักดีว่า บริษัทที่ไม่มี R&D คงจะอยู่รอดได้ยากในอนาคต” กานต์ กล่าวสรุป

ความสำเร็จของ STI/R&D
ไม่เพียงแต่ภาคเอกชนเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริม STI ภาครัฐก็มีตัวอย่างความสำเร็จให้เห็นเช่นกัน
เม็ด วัสดุมวลเบาสังเคราะห์ “จีร็อค” (G-Rock) ผลงานนวัตกรรมเพื่องานวัสดุก่อสร้างที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ (National Metal and Materials Technology Center: MTEC) ได้รับการลงคะแนนโดยนักลงทุนจนได้รับรางวัล “สุดยอดเทคโนโลยีที่น่าจับตามองเพื่อการลงทุน” (The Most Interesting Technology for Investment) ในงานวันนักลงทุนประจำปี 2553 ที่จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

งานวันนักลงทุนที่จัดโดย สวทช. ในชื่องาน “ธุรกิจและเทคโนโลยี ของดีสำหรับนักลงทุน” เวทีที่เปิดให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม การลงทุน และการเงิน  ให้มาเจอกับแวดวงนักวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจและสังคม

“จีร็อค” ก็ถูกคาดหมายว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมจะประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์

“จีร็อค” ซึ่งเป็นเม็ดวัสดุมวลเบาสังเคราะห์จากดินตะกอนน้ำประปาที่ใช้เสริมแกร่ง งคอนกรีตมวลเบา เป็นนวัตกรรมที่มีแนวคิดสร้างมูลค่าจากดินตะกอนโรงงานผลิตน้ำประปา มีคุณสมบัติเด่นด้านการรับน้ำหนัก เพิ่มความเป็นฉนวน และเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมจากกาช่วยอัตราการใช้หินบดจากการระเบิดภูเขาหิน ปูน

พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล นักวิจัยจากหน่วยวิจัยเทคโนโลยีเซรามิกส์ของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่ง ชาติ เผยว่า  ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบานั้นมักถูกนำมาใช้งานแทนที่คอนกรีตทั่วไปเพราะว่า ช่วยเพิ่มความเป็นฉนวนจากความร้อนภายนอกได้ดี แต่ก็มีปัญหาเรื่องการรับน้ำหนักและการดูดซับความชื้นสูงซึ่งถือเป็นข้อ จำกัดในการใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้

การริเริ่มพัฒนาเม็ดวัสดุมวลเบาสังเคราะห์ “จีร็อค” ก็เพื่อลดข้อจำกัดที่กล่าวมา โดยภายหลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากนักลงทุน และผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์นี้เพื่อ วัตถุประสงค์เชิงพานิชย์  เนื่องจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างมีขนาดใหญ่และมีความต้องการที่หลากหลาย อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างของเราจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกรณีของวัสดุที่มีน้ำหนักมวลเบาและเป็นฉนวนอย่างดี

พิทักษ์ ว่า นอกจากนวัตกรรมใหม่ที่คิดค้น ในส่วนของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for Genetic Engineering and Biotechnology: BIOTEC) ยังได้นำประเทศไทยก้าวกระโดดไปสู่ความสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยการวิจัยและ พัฒนา ภายใต้ชื่อว่า P218 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยโรคมาลาเรียหลายชิ้นที่ทำด้วยทีมงานนักวิจัยที่ BIOTEC ภายใต้การนำทีมของ ศ.ดร. ยงยุทธ ยุทธวงษ์

โดยนักวิจัยค้นพบโครงสร้างของเอนไซม์ภายในเชื้อมาลาเรีย P. falciparum ซึ่งโดยปกติจะเป็นเป้าหมายของยาต้านมาลาเรียที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่ม แอนติโฟเลท (anti-folates) ซึ่งยาที่อยู่ในกลุ่มนี้รวมถึงยาสูตรผสมซัลฟาดอกซีนและไพริเมทามีน (sulfadoxine and pyrimethamine) จะค่อยๆ ลดประสิทธิภาพในการรักษาเชื้อมาลาเรียที่ดื้อยา

“การมีความคิดในการสรรสร้างนวัตกรรมนั้นยังไม่เพียงพอ เพราะต้องมีการนำการตลาดเข้ามาสนับสนุน หากความคิดในการสรรค์สร้างนวัตกรรมไม่เหมาะสมกับตลาดแล้วก็จะอยู่ได้ไม่นาน” ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาดบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าว

การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นั้นไม่เพียงแต่เกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ เท่านั้นแต่ยังเกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจด้วย ณัฐกิตติ์

ให้ความเห็นเพิ่มเติม บริษัทต้องเต็มไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงหรือ ปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะทำให้ลูกค้า พึงพอใจ และในการที่นวัตกรรมจะประสบความสำเร็จได้ผู้บริหารองค์กรต้องเข้าไปมีส่วน สนับสนุนเพื่อให้การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นั้นเป็นไปอย่างมีพลวัต

การขับเคลื่อนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศภายใต้แผนฯ STI  ยังคงเดินหน้าโดยมีหัวใจหลักอยู่ที่การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และความสามารถสร้างนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
ซึ่งการจะพัฒนาอย่าง ยั่งยืนได้นั้นต้องอาศัยองค์ประกอบด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) , การถ่ายทอดเทคโนโลยี, นโยบายนวัตกรรม, การสร้างเสริมกำลังคนในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานเข้ามาเป็นองค์ประกอบสนับสนุนที่สำคัญ

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com (3914)

Comments are closed.