“เนคเทค” โชว์ฝีมือปั้น “S-Sense” รู้ทันผู้บริโภคยุค “โซเชียลเน็ตเวิร์ก”

นับวันขนาดของโลกออนไลน์ใหญ่โตขึ้นทุกที มีจำนวนข้อมูลที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นรูปถ่าย, คลิปวิดีโอ และข้อความทั้งหลาย ด้วยขนาดของข้อมูลที่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดปรากฏการณ์ “บิ๊กดาต้า”

ทีมนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เริ่มคิดค้นเครื่องมือที่จะวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคในโลกออนไลน์จาก ข้อความภาษาไทยที่เขียนลงไป โดยเฉพาะบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก แล้วนำมาประมวลผลเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ รวมถึงบุคคลทั่วไปได้นำผลลัพธ์เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์โปรเจ็กต์นี้ชื่อว่า S-Sense หรือ Social Sensing

“อลิสา คงทน” นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเสียง (SPT) หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ (INIRU) แห่งเนคเทค อธิบายว่า โปรเจ็กต์นี้เริ่มต้นขึ้นมากว่า 10 ปี ช่วงแรกเป็นการพัฒนาให้ระบบเรียนรู้การตัดคำและประโยคภาษาไทย พร้อมความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ โดยมีทีมคนไทยช่วยป้อนข้อมูล เมื่อรวมข้อมูลได้ระดับหนึ่งจนกลายเป็นเหมืองข้อมูล หรือ Text Mining ระบบจะสามารถแยกแยะความหมายได้ด้วยตนเองระดับหนึ่ง และจะใช้เวลาอีกไม่นานเพื่อเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโซเชียลเน็ตเวิร์ก

“ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยากในการสร้าง ระบบแบบนี้ เพราะมีคำศัพท์จำนวนมาก รวมถึงรูปประโยคยังไม่มีการแยกคำเหมือนภาษาอังกฤษ ดังนั้นเวลาเขียนระบบนี้จึงต้องใช้เวลาเพื่อวางโครงสร้างภาษา เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงเป็นความภูมิใจทำให้องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย และบุคคลทั่วไปนำข้อมูลหลากหลายในโซเชียลเน็ตเวิร์กไปใช้งานในธุรกิจได้ อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้เรียนรู้เทรนด์ใหม่ ๆ ในโลกนี้ด้วย”

S-Sense คือการนำจำนวนความเห็น, อารมณ์ในการแสดงความคิดเห็น และหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ในโซเชียลเน็ตเวิร์กมาวิเคราะห์ว่า มีความรู้สึกอย่างไรต่อผลิตภัณฑ์ บริการ และแบรนด์สินค้าต่าง ๆ ซึ่งจำนวนความเห็นนำมาจากทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก, เว็บบอร์ดต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลความเห็นของลูกค้าในแต่ละองค์กร ซึ่งรวบรวมได้ค่อนข้างง่ายผ่านการเปิดให้ค้นอย่างเสรีในเว็บไซต์ดังกล่าว และเกิดขึ้นจำนวนมากทุกวัน

อย่างไรก็ตาม การค้นหาที่ง่าย ผู้ใช้อาจเข้าใจว่าสามารถค้นหาด้วยตนเองได้ แต่ด้วยข้อมูลที่มากย่อมเสียเวลาในการค้น การมีเครื่องมือช่วยย่อมทำให้เร็วขึ้น

การนำอารมณ์ในการแสดงความคิด เห็นมาใช้ เป็นการนำคำศัพท์, บริบทของประโยค และสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ (อีโมติคอน) มาตีความเพื่อให้รู้ว่า ผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กคิดเห็นกับแบรนด์สินค้า สถานที่ และบริการต่าง ๆ อย่างไร เช่น ชอบ, ไม่ชอบ, ตั้งแง่ไม่ดี หรือเห็นด้วยกับ

ข้อมูลใน นั้น แต่ภาษาที่ใช้บนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กค่อนข้างไม่เป็นทางการ ทำให้ต้องมีการใส่คำศัพท์ใหม่เข้าไปจำนวนมาก โดยเฉพาะคำแสลง เช่น “จุงเบย”, “มากกกกก” หรือ “อ่ะ” ที่ไม่มีในพจนานุกรม เมื่อนำความเห็นทั้งหมดมาประมวลผล จะรู้ว่ามีคนเห็นชอบโปรดักต์หรือบริการ และข้อมูลนั้น ๆ มากแค่ไหน

“จริง ๆ ถ้ารู้แต่ว่ามีคนพูดถึงสินค้าเรามากแค่ไหน แต่ไม่รู้ว่าพูดไปในแง่บวกหรือลบ ข้อมูลเหล่านั้นก็แทบใช้งานไม่ได้ แต่เมื่อรู้ว่าคนอื่นคิดเห็นอย่างไร การปรับตัวทั้งการทำตลาด, การผลิตสินค้าหรือการจัดโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อจูงใจผู้บริโภคจะทำได้ง่ายขึ้น ดังนั้นฟังก์ชั่นนี้สามารถ

ต่อยอด ไปในการใช้บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหรือ CRM ได้ด้วย ในแง่ความแม่นย้ำเรากล้าพูดว่า แม่นยำถึง 85% เมื่อมีการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ จะแม่นยำมากกว่านี้อีก”

เมื่อระบบ วิเคราะห์เสร็จสมบูรณ์แล้วจะขาดขั้นตอนสุดท้ายไปไม่ได้ คือ การนำเสนอข้อมูล โดย S-Sense จะแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นกราฟ และข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น การระบุว่า ปัจจุบันมีผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับสินค้า หรือบริการของบริษัทนั้น ๆ อย่างไรบ้าง ด้วยการดึงข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก ไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์

หรือ เฟซบุ๊ก ซึ่งผู้ควบคุมสามารถเข้าไปตอบกลับความคิดเห็นเหล่านั้นได้ทันทีด้วยโปรแกรม ที่ติดตั้งไว้ในงานคอมพิวเตอร์ พร้อมการแสดงข้อความที่พูดถึงอย่างมากในเวลานั้น ๆ เช่น ชอบ, ดี, แย่, โปรโมชั่นและบริการ เป็นต้น

สำหรับการทำตลาด ขณะนี้ยังไม่มีการประเมิณค่าของระบบนี้ แต่เริ่มมีองค์กรต่าง ๆ ให้ความสนใจ เพราะเทรนด์การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กของผู้บริโภคเติบโตเร็วมาก อีกทั้งความเห็นในพื้นที่นั้นยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ หรือใช้สินค้าและบริการ ในช่วงแรกทีมงานแบ่งรูปแบบการใช้งานตามขนาดของหน่วยงาน โดยองค์กรขนาดใหญ่จะใช้การติดตั้งในระบบเซิร์ฟเวอร์ เพื่อนำข้อมูลทั้งจากโซเชียลเน็ตเวิร์ก และข้อมูลของลูกค้าทั้งทางคอลเซ็นเตอร์ รวมถึงเว็บบอร์ดของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาประมวลผลให้รู้ถึงความเห็นของผู้ บริโภค

ระดับเอสเอ็มอีจะให้บริการแบบ “เว็บเซอร์วิส” เพราะสะดวกในการใช้งานมากกว่า โดยเข้าไปค้นข้อมูลความเห็นผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งต้องร่วมมือกับพันธมิตรทั้งที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์และการให้ บริการคลาวด์ รวมถึงบริษัทที่เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ตลาด เพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

“แม้เนคเท คจะมีระบบที่พร้อม แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะไปให้บุคคลทั่วไปใช้ในจำนวนมาก ถ้าจะนำบริการคลาวด์ที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้เราใช้อยู่มาขยาย บริการนี้เพิ่มก็คงไม่ถูกต้อง ดังนั้นต้องรอร่วมมือกับพันธมิตรที่จะมีเข้ามาในเร็ววันนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีได้ใช้งาน”

สำหรับบุคคลทั่วไป “เนคเทค” จะให้บริการในรูปแบบเว็บเซอร์วิส แต่ค้นหาได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น ผ่านเว็บไซต์ http://pop.ssense.in.th สามารถใส่คำอะไรก็ได้เข้าไป ระบบจะนำข้อมูลจากทวิตเตอร์มาประมวลผล พร้อมแสดงออกมาว่ามีคนเห็นชอบกับเรื่องนั้นอย่างไรบ้าง โดยแสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์ชัดเจน ซึ่งจะรวมไปถึง

“อีโมติคอน” แสดงอารมณ์ว่าดีหรือไม่ S-Sense เน้นพัฒนาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลภาษาไทยมากกว่าภาษาอื่น ๆ เพื่อสร้างจุดเด่นในการค้นหา ปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติกว่า 3 ราย ทั้ง Marketing Cloud, Thought Buzz และ Google Trend เข้ามาเจาะตลาดกลุ่มองค์กรในประเทศไทยแล้ว ที่สำคัญการพัฒนาภาษาอังกฤษง่ายกว่าภาษาไทย เพราะมีการตัดคำชัดเจน รวมถึงไม่ได้มีคำศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่เหมือนของไทย จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะพัฒนาภาษาอังกฤษควบคู่กันไปเพื่อให้เจาะตลาดอย่าง สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ที่มา: prachachat.ne (745)

Comments are closed.