สงครามแอปพลิเคชั่น! “แอปเปิล-กูเกิล-อเมซอน”

ในตลาดโมบายปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่จริงอยู่เวลานี้ก็คือแอนดรอยด์ของกู เกิล โดยมีซัมซุงเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด แอนดรอยด์มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ถึงเกือบร้อยละ 70 อันดับสองรองลงมาคือ iOS ของแอปเปิล

เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องประหลาดใจว่ายอดการดาวน์โหลดแอปพลิ เคชั่นผ่านกูเกิลเพลย์ของกูเกิลจะสูงกว่าจากแอปสโตร์ของแอปเปิล จากข้อมูลของ Canalys พบว่า การดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นจากกูเกิลเพลย์คิดร้อยละ 51 ของทั้งหมด ส่วนการดาวน์โหลดผ่านแอปสโตร์เท่ากับร้อยละ 40

กูเกิลเพลย์นั้นมาทีหลังและก็ไล่กวดขึ้นมาเรื่อย ๆ แซงหน้าในแง่ของยอดการดาวน์โหลด ทว่าเมื่อเทียบกันที่รายได้จากแอปพลิเคชั่นก็ยังห่างไกลมากเหมือนเดิม เพราะยอดการดาวน์โหลดฟรีจากกูเกิลเพลย์นั้นสูงมาก รายได้จากแอปพลิเคชั่น ของแอปเปิลคิดเป็นร้อยละ 74 ขณะที่กูเกิลทำได้ไม่ถึงร้อยละ 20

นั่น หมายความว่าในแง่ของการใช้จ่ายสำหรับแอปพลิเคชั่นแล้ว ลูกค้าของแอปเปิลที่ใช้ iOS ยินดีที่จะจ่ายมากกว่านั้น อาจจะเป็นเพราะกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่แรกเริ่มของแอปเปิลคือกลุ่มที่มีฐานะ สูงกว่า

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดังกล่าวนี้ก็อาจจะไม่คงอยู่เหมือนเดิมไปตลอด จากการวิเคราะห์ของบริษัท App Annie พบว่ารายได้ของกูเกิลเพลย์ในไตรมาสแรกของปีนี้ก้าวกระโดดขึ้นมาถึงร้อย 90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่รายได้จากแอปสโตร์ของแอปเปิลในไตรมาสเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ส่วนใหญ่มาจากตลาดเกมในเอเชีย

โอกาสที่กูเกิลจะตามแอปเปิลทันตามความเห็นของนักวิเคราะห์จาก Canalys ก็คือจนกว่าจะถึงปี 2016

ข้อได้เปรียบประการหนึ่งของแอปสโตร์ของแอปเปิลคือระบบการชำระเงินที่สะดวกกว่ากูเกิลเพลย์

ขณะ เดียวกันยังมีตัวแทรกซ้อนที่น่าสนใจ นั่นก็คือ อเมซอน สโตร์ ซึ่งแม้เวลานี้จะยังเปิดให้เข้าถึงได้เพียง 7 ประเทศ โดยประเทศที่ 7 เพิ่งเปิดในปีนี้ กลับมีภาพความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ กล่าวคือ

ในสหรัฐอเมริกายอดการดาวน์โหลดฟรี แอปพลิเคชั่นผ่านกูเกิลเพลย์สูงกว่าที่ผ่านมาอเมซอน สโตร์ถึง 10 เท่า

ทว่า เมื่อมาดูยอดดาวน์โหลดแอปจ่ายเงิน 1,000 อันดับแรก อเมซอน สโตร์กลับสูงกว่ากูเกิลเพลย์ถึงสองเท่า นอกจากนั้นยังมีบางแอปพลิเคชั่นที่ทำยอดได้ดีกว่าทั้งที่อเมซอน สโตร์ก็เปิดสำหรับเพียง 7 ประเทศ ขณะที่กูเกิลเพลย์เปิดเกือบทุกประเทศในโลก

เมื่อไรที่อเมซอน แอปสโตร์ลุยทั่วโลก เมื่อนั้นน่าสนุกแน่ ๆ ในตลาดแอปพลิเคชั่น

ที่มา: prachachat.net (680)

Comments are closed.